แบบสอบถาม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การวิเคราะห์สภาพองค์กร (SWOT Analysis) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1. พิจารณา ข้อมูลรายละเอียดการวิเคราะห์สภาพองค์กร
   1.1 จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ปัจจัยภายในขององค์กร จุดเด่นด้านต่าง ๆ ที่ทำให้องค์กรมีความได้เปรียบคู่แข่งขัน
   1.2 จุดอ่อน (Weakness) หมายถึง ปัจจัยภายในขององค์กร จุดด้อยด้านต่าง ๆ รวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความสามารถของบุคลากร คุณภาพบัณฑิต ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กร
   1.3 โอกาส (Opportunity) หมายถึง สิ่งที่ช่วยสร้างประโยชน์ต่อองค์กรจากภายนอก โดยที่ตัวองค์กรเองอาจไม่ได้ตั้งใจด้วยซ้ำ ซึ่งก็จะมีปัจจัยหลากหลายอย่างที่จะช่วยส่งเสริมในการพัฒนาขององค์กร เช่น กระแสข่าวสาร กฎหมาย สังคม
   1.4 อุปสรรค (Threats) หมายถึง ผลกระทบในเชิงลบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและส่งผลต่อองค์กรไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ถ้าหากองค์กรไม่สามารถรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ อาจส่งผลร้ายกับองค์กร
2. ท่านสามารถเพิ่มข้อมูลการวิเคราะห์สภาพองค์กรในด้านต่างๆ
3. ใส่หมายเลขเพื่อเรียงลำดับความสำคัญของการวิเคราะห์องค์กรในด้านต่าง ๆ ตามลำดับจากสำคัญมาก (1) ไปสู่สำคัญน้อย (5)

  • Strengths
  • Weakness
  • Opportunity
  • Threats
  • Finish

จุดแข็ง (Strengths):

Step 1 - 5

ขอให้ท่านพิจารณาจุดแข็งทุกประเด็น หากท่านเห็นว่ามีประเด็นอื่นเพิ่มเติมขอให้ท่านกรอกเพิ่มเติม หลังจากนั้นให้ท่าน เรียงลำดับประเด็นจุดแข็งที่คิดว่าเป็นจุดแข็งขององค์กรมากที่สุด มา 5 ลำดับ (กรอกหมายเลข 1 สำหรับจุดแข็งที่สำคัญมากที่สุด กรอกหมายเลข 2 -3 – 4-5 สำหรับจุดแข็งที่สำคัญรองลงไป จนครบ 5 ลำดับ)
คณะมีหลักสูตรทางด้านศิลปะที่ครอบคลุมทุกศาสตร์ทางศิลปะ ทำให้สามารถรับนักศึกษาได้หลากหลาย
มีหอศิลปวัฒนธรรม ที่สามารถรองรับการจัดหลักสูตรระยะสั้นที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมอบรมทางด้านศิลปะอย่างครบวงจร ทั้งการอบรมและการจัดแสดงนำเสนอผลงานที่ได้จากการอบรม
คณาจารย์มีความเชี่ยวชาญ ในการสร้างสรรค์ผลงาน และถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
คณาจารย์ และบุคลากร มีความตื่นตัว และมีทักษะและความชำนาญในด้านการใช้สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจ
คณะมีหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับชุมชน เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง และตอบโจทย์ความต้องการของสังคม (Active learning)
มีคณาจารย์ชาวต่างประเทศจำนวนมาก เมื่อเทียบกับคู่เทียบ ช่วยเสริมบรรยากาศความเป็นนานาชาติ
มีที่ตั้งในแหล่งอารยธรรมล้านนา มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นซึ่งเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมในการต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้
มีนักศึกษาชาวต่างประเทศ เข้ามาศึกษาในคณะเพิ่มมากขึ้น

จุดอ่อน (Weakness)

Step 2 - 5

ขอให้ท่าน พิจารณาจุดอ่อนทุกประเด็น หากท่านเห็นว่ามีประเด็นอื่นเพิ่มเติมขอให้ท่านกรอกเพิ่มเติม หลังจากนั้นให้ท่าน เรียงลำดับประเด็นจุดอ่อนที่คิดว่าเป็นจุดอ่อนขององค์กรมากที่สุด มา 5 ลำดับ (กรอกหมายเลข 1 สำหรับจุดอ่อนที่เป็นปัญหามากที่สุด กรอกหมายเลข 2 -3 – 4-5 สำหรับจุดอ่อนที่เป็นปัญหาที่สำคัญรองลงไป จนครบ 5 ลำดับ)
งานวิจัยของคณาจารย์ยังขาดการบูรณาการจึงไม่ได้รับการสนับสนุนทุนมากเท่าที่ควร
คณะยังขาดการส่งเสริมด้านทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้แก่นักศึกษา
บุคลากรยังไม่ตระหนัก / ไม่เข้าใจ ถึงนโยบายและเป้าหมายของคณะอย่าง
คณะยังขาดวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมที่ชัดเจน
ขาดกระบวนการจัดการความรู้ (KM) และการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดการทำงานได้ เช่น ระเบียบวิธีวิจัย ระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณ
ความไม่เข้าใจในระบบระเบียบการทำงานของเจ้าหน้าที่และอาจารย์บางท่าน ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านการบริหารจัดการ เช่น ระเบียบพัสดุ ระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการวิจัย / บริการวิชาการ
ความร่วมมือทางด้านวิชาการระดับชาติ และนานาชาติทั้งในระดับสถาบัน ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับคู่เทียบ (ม.ศิลปากร)
มีห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอ ต่อการรองรับหลักสูตรใหม่

โอกาส (Opportunity):

Step 3 - 5

ขอให้ท่าน พิจารณาโอกาสในทุกประเด็น หากท่านเห็นว่ามีประเด็นอื่นเพิ่มเติมขอให้ท่านกรอกเพิ่มเติม หลังจากนั้นให้ท่าน เรียงลำดับประเด็นที่คิดว่าเป็นโอกาสขององค์กรมากที่สุด มา 5 ลำดับ (กรอกหมายเลข 1 สำหรับประเด็นที่ท่านคิดว่าเป็นโอกาสที่เอื้อกับคณะมากที่สุด กรอกหมายเลข 2 -3 – 4-5 สำหรับประเด็นที่ท่านคิดว่าเป็นโอกาสที่เอื้อกับคณะที่สำคัญรองลงไป จนครบ 5 ลำดับ)
ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เน้นด้านล้านนาสร้างสรรค์ เอื้อต่อพันธกิจของคณะ ในการขับเคลื่อนศิลปวัฒนธรรมด้านล้านนาสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ช่วยสนับสนุนส่งเสริมทักษะทางด้านฝีมือ และจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ รสนิยมทางศิลปะ
สถานการณ์โควิด-19 สร้างโอกาสให้เกิดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งสามารถนำมาปรับวิธีการเรียนการสอนและการบริการวิชาการให้แก่กลุ่มเป้าหมายของคณะมากขึ้น
มหาวิทยาลัยมีระบบสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์
นโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Education) ของมหาวิทยาลัย เอื้อต่อการจัดหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต
มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้คณะมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นเวทีและช่องทางให้คณาจารย์ละบุคลากรได้แสดงศักยภาพสู่สาธารณะ
นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (BCG Platform , Creative Economy) มหาวิทยาลัยมีศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ (TLIC) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน และศักยภาพของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมีบริษัท อ่างแก้วโฮลดิ้ง จำกัด สำหรับบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และส่งเสริมการจัดตั้งธุรกิจใหม่ มีเครือข่ายสภาคณบดีศิลปกรรม ที่เป็นการรวมตัวของกลุ่มสถาบันทางศิลปะเพื่อกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มีผลกระทบสูง

อุปสรรค (Threats):

Step 4 - 5

ขอให้ท่าน พิจารณาอุปสรรคในทุกประเด็น หากท่านเห็นว่ามีประเด็นอื่นเพิ่มเติมขอให้ท่านกรอกเพิ่มเติม หลังจากนั้นให้ท่าน เรียงลำดับประเด็นที่คิดว่าเป็นอุปสรรคขององค์กรมากที่สุด มา 5 ลำดับ (กรอกหมายเลข 1 สำหรับประเด็นที่ท่านคิดว่าเป็นอุปสรรคที่อาจเกิดกับคณะมากที่สุด กรอกหมายเลข 2 -3 – 4-5 สำหรับประเด็นที่ท่านคิดว่าเป็นอุปสรรคที่อาจเกิดกับคณะที่สำคัญรองลงไป จนครบ 5 ลำดับ)
กระแสแนวคิดของ Generation Z ที่ไม่ให้ความสำคัญกับการจบปริญญา ก็สามารถหารายได้ ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาน้อยลง
งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลมีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดข้อจำกัดในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ/แลกเปลี่ยนทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาทางด้านศิลปะต่างประเทศ
เกณฑ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ไม่เอื้อต่อคณาจารย์ภายในคณะ
ระบบรับเข้านักศึกษาของส่วนกลาง ยังไม่เอื้อต่อการคัดเลือกนักศึกษาของคณะ เช่น TCAS รอบ2 (โควตา) เน้นด้านวิชาการมากกว่าฝีมือ
ประเทศไทยมีแนวโน้มประชากรวัยเด็ก และวัยอุดมศึกษาลดลง
ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้นักศึกษาขาดทุนทรัพย์ ทางการศึกษา

Finish:

Step 5 - 5



SUCCESS !




ขอบคุณสำหรับการตอบแบบสอบถาม